วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

ธนาคารกรุงไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารกรุงไทย
Krungthai Bank Public Company Limited
KTB NewLogo.png
ที่ทำการ
(อาคาร 1) 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
(อาคาร 2) 10 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
ภาพรวม
วันก่อตั้ง14 มีนาคม พ.ศ. 2509
ผู้บริหารวรภัค ธันยาวงษ์, กรรมการผู้จัดการใหญ่
ในกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
เว็บไซต์
http://www.ktb.co.th
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษKRUNG THAI BANK PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:KTB)[1] เป็นธนาคารของรัฐ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยการควบกิจการของธนาคารมณฑลและธนาคารเกษตร ซึ่งเป็นธนาคารที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ทั้งคู่ และใช้ชื่อธนาคารใหม่ที่เกิดจากการควบรวมว่า "ธนาคารกรุงไทย จำกัด" มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปนกวายุภักษ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงการคลัง โดยในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยนำวงกลมออก และเปลี่ยนสีตราสัญลักษณ์รวมถึงสีธนาคารเป็นสีฟ้าอ่อน

เนื้อหา

  [แสดง

ประวัติ[แก้]

ในระยะแรกของการก่อตั้ง มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนเยาวราช วัตถุประสงค์ของการรวมธนาคารทั้งสองให้เป็นของรัฐ เพื่อให้มีฐานะการเงินมั่นคง บริการกว้างขวาง ผลการดำเนินงานดีขึ้นตามลำดับ จนสำนักงานใหญ่เดิมที่ถนนเยาวราช คับแคบ จึงย้ายสำนักงานมาที่ 35 ถนนสุขุมวิท เขตวัฒนากรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้สำนักงานนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ธนาคารกรุงไทยได้เริ่มดำเนินกิจการมา มีการเจริญเติบโตที่มั่นคง รวดเร็ว มีการปรับปรุง และขยายองค์กรงานใหม่ ซึ่งตอบสนองลูกค้าได้มากขึ้น จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2531 ธนาคารกรุงไทย เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวในสมัยนั้น ที่มีสาขาและเอทีเอ็ม (ATM) ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ[ต้องการอ้างอิง]
ธนาคารเข้าสู่ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 26 มิถุนายน 2532 นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่นำหุ้นเข้าซื้อ-ขายในตลาด หลักทรัพย์ฯ โดยเริ่มเปิดการซื้อ-ขายหุ้นของธนาคารตั้งแต่ วันที่ 2 สิงหาคม 2532 จนกระทั่งในวันที่ 24 มีนาคม 2537 ธนาคารกรุงไทยก็ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนภายใต้ชื่อ “ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Krungthai Bank Public Company Limited”
ธนาคารกรุงไทยเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2532[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่คือกระทรวงการคลัง โดยถือหุ้นผ่านกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน [2]

บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร[แก้]

  • บริษัท กรุงไทย ร่วมทุน จำกัด (KTBCH)

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ[แก้]

  • บริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด (KTBL)
  • บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC)
  • บริษัท กรุงไทย ไอบีเจ ลิสซิ่ง จำกัด (KTIBJ)

ธุรกิจด้านตลาดทุนและที่ปรึกษาทางการเงิน[แก้]

  • บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด (KT ZMICO)
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTAM)
  • เคทีบี แอดไวซ์เซอร์รี่ จำกัด (KTBA)

ธุรกิจประกัน[แก้]

  • บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (KTAL)
  • บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) (KPI)

ธุรกิจสนับสนุน[แก้]

  • บริษัท กรุงไทย คอมพิวเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด (KTBCS)
  • บริษัท กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด (KTBGS)
  • บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด (KTBLAW)

ธนาคารที่โอนกิจการและการส่งให้ผู้อื่น[แก้]

หลังจากที่รัฐบาลไทยเข้าถือหุ้นใหญ่ ธนาคารฯ ทั้งสองแห่ง ทั้งนี้จะมีชื่อเดิมต่อไปนี้
  • ธนาคารเกษตร จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2493
  • ธนาคารมณฑล จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2485 โดยเปลี่ยนชื่อจากธนาคารไทย จำกัด
ทั้งสองแห่งถูกเปลี่ยนเป็น ธนาคารกรุงไทย ตามนโยบายของรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509

ธนาคารฯอื่น ที่ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้รับโอนกิจการ[แก้]

  • ธนาคารสยาม จำกัด เดิมชื่อว่า ธนาคารเอเชียทรัสต์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 แล้วเปลี่ยนชื่อ เมื่อปี พ.ศ. 2527 โอนกิจการวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2530 บางส่วน ก็กลายเป็น บริษัท ทิพยสิน จำกัด เพื่อกำกับดูแลลูกหนี้เดิมของธนาคารสยาม จำกัด
  • ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ จำกัด (มหาชน) ยุติการดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยในปีเดียวกัน ธนาคารฯ เป็นผู้รับโอนเฉพาะทรัพย์สิน หนี้สิน งบประมาณที่มีคุณภาพดีสูง จากแห่งนี้ด้วย
  • ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) โอนกิจการวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541

ธนาคารฯเป็นผู้โอนให้กับผู้อื่น[แก้]

  • บริการทางการเงินตามหลักซาริฮะห์ ของธนาคารกรุงไทย หรือมีอีกชื่อหนึ่งคือ ธนาคารกรุงไทยซาริฮะห์ เป็นบริการทางการเงินที่ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม บริหารงานโดย ธนาคารฯเอง โอนกิจการเมื่อวันที่9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ให้กับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

อ้างอิง












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น