วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

เกาะเสม็

ภูมิประเทศ

สภาพที่ตั้ง ภูมิประเทศ อยู่บริเวณอ่าวไทย ออกจากชายฝั่ง ตำบลบ้านเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 6.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งเกาะโดยประมาณ 3,125 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นแนวหินเขาดินแดง และมีพื้นที่ราบลุ่มทางด้านเหนือและด้านตะวันออกของเกาะ
สภาพเกาะมีสันเขาเป็นแกนยาวจากตัวเกาะด้านเหนือมาทางใต้ ฝั่งตะวันตกของเกาะ เป็นหน้าผาสูงชันและลาดชันลงสู่ฝั่งตะวันออกที่มีชาดหาดเว้าแหว่ง ส่วนฐานของเกาะอยู่ด้านทิศเหนือ ซึ่งหันเข้าสู่ฝั่งบ้านเพ มีภูเขาสลับซับซ้อนกันอยู่ 2-3 ลูก มีที่ราบอยู่ตามริมฝั่งชายหาด ส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านเหนือและตะวันออกของเกาะในบริเวณปลายแหลมด้านใต้มีเกาะเล็กๆ อยู่ใกล้ๆ 3 เกาะ คือ เกาะจันทร์ เกาะสันฉลาม และเกาะหินขาว ซึ่งเป็นหินล้วน ไม่มีต้นไม้ เป็นที่ อาศัยและวางไข่ของนกนางนวล

สถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ด

ประเพณี และวัฒนธรรม

ประเพณีบนเกาะส่วนใหญ่เป็นไปตามปกติตามวิธีชีวิตคนไทยอาจเปลี่ยนแปลงไปบางอย่างเนื่องจากต่างพื้นที่กัน แต่ว่ามีหนึ่งอย่างที่มีทีเกาะเสม็ดที่เดียว คือการแห่พ่อปู่ดำรอบ ๆ เกาะโดยใช้เรือ

สัญลักษณ์ชุมชน

เป็นแบบสังคมชาวเกาะทั่วๆไป อยู่กันเป็นชุมชนครอบครัว ในเขตรอบๆเกาะ และในเขตชุมชนการท่องเที่ยวอยู่กันแบบเพื่อนบ้านเป็นตึกแถวเป็นส่วนใหญ่

ภาษา

บนเกาะโดยทั่วไปของประชากรที่อาศัยอยู่บนเกาะจะสื่อสารภาษาพื้นเมืองของจังหวัดระยอง และมีการใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพ เพราะบนเกาะมีชาวต่างชาติมาท่องเที่ยว

ศาสนา

ประชาชนส่วนใหญ่บนเกาะนับถือศาสนาพุทธ บนเกาะมีวัดเพียงวัดเดียว

การคมนาคม

การเดินทางไปยังเกาะจะใช้เรือโดยสารข้ามไปเกาะ ส่วนการเดินทางภายในเกาะคนส่วนใหญ่ ใช้การโดยสารรถแท็กซี่ซึ่งเป็นรถกระบะที่วิ่งทั่วทั้งเกาะและใช้รถจักยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ บนเกาะมีถนนทอดยาวจากเหนือถึงใต้

ทรัพยากร

มีต้น เสม็ด ขาว และ เสม็ด แดงขึ้นอยู่มาก บนเกาะเสม็ด ไม่มีแม่น้ำลำคลอง เป็นภูเขาและป่าไม้เบญจพรรณ ประมาณ 80% ของพื้นที่

ประชากร

จำนวนประชากร ที่เป็นคนไทยที่ใช้ชีวิตบนเกาะ โดยประมาณ 1,500 คน และเป็นแรงงานชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานบนเกาะเกือบ 1,000 คน

เหตุการณ์สำคัญ

วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2556 เกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้ว ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) รั่วที่บริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบ ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ขณะกำลังส่งน้ำมันมายังโรงกลั่น เมื่อเวลา 06.50 น.วันที่ 27 กรกฎาคม โดยมีน้ำมันดิบรั่วประมาณ 50,000 ลิตร ต่อมาในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2556 ได้มีการประกาศให้อ่าวพร้าวเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติทางทะเล [1]และในวันที่ 1 สิงหาคมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนได้มีมติปิดอ่าวพร้าวเกาะเสม็ดเป็นเวลา 1 เดือนเหตุการณ์นี้สร้างความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวรวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าว[2]












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น