วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

อัญชัน

อัญชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัญชัน
อัญชัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:พืช (Plantae)
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Fabales
วงศ์:Fabaceae
วงศ์ย่อย:Faboideae
เผ่า:Cicereae
สกุล:Clitoria
ชนิด:Clitoria ternatea
ชื่อทวินาม
Clitoria ternatea
L.
อัญชัน (อังกฤษAsian pigeonwingsชื่อวิทยาศาสตร์Clitoria ternatea L.) เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน,เองชัญ (เหนือ)[1] เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า

เนื้อหา

  [แสดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

การกระจายพันธุ์[แก้]

อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา ในลาว ไทย เวียดนาม

สรรพคุณ[แก้]

  • ดอก ใช้สกัดสีทำเป็นสีผสมอาหาร ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ งามงามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น [3]
  • เมล็ด เป็นยาระบาย[4]
  • ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา[5]

อัญชันในวรรณคดี[แก้]

ในสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ ซึ่ง นิราศธารโศก และ มหาชาติคำหลวง ได้เปรียบเทียบคิ้วหญิงนั้นงามราวดอกอัญชัน

อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น