วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บัวบก

บัวบก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัวบก (Centella asiatica)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Apiales
วงศ์:Apiaceae
สกุล:Centella
ชนิด:C. asiatica
ชื่อทวินาม
Centella asiatica
(L.Urban
บัวบก (ชื่อวิทยาศาสตร์Centella asiatica) เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในแถบเอเชีย ใบบัวบกสามารถช่วยรักษาแผลให้หายได้เร็วขึ้นและยังช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้ดี เพราะมีกรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และสารอะเซียติโคไซด์ ยาแผนปัจจุบันทำเป็นรูปครีมผงโรยแผล ยาเม็ดรับประทาน เพื่อใช้รักษาแผลสดและแผลผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นแผลไฟไหม้ หรือแผลฝีหนองหรือแผลสด โดยใช้ใบและต้นสดตำละเอียดคั้นน้ำทานวันละ 3 - 4 ครั้ง หรืออาจใช้กากพอกบริเวณแผลด้วยก็ดี
สารสกัดด้วยน้ำของใบบัวบกที่มีความเข้มข้น 31.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของFlavobacterium columnaris ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้[1] บัวบกที่สกัดด้วยเอทานอล มีความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง Vero cell โดยมีค่า CD50 เท่ากับ 0.16 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร[2] สารสกัดจากต้นสดที่สกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1.  พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ และ ปาริชาติ พุ่มขจร. 2553. การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่12 ฉบับที่4 กรกฎาคม 2553 63 -71
  2.  อัฐญาพร ชัยชมภู และนฤมล ทองไว. 2554. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน. การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
  3.  จินดาพร คงเดช. 2551. การผลิตสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มะกรูด

มะกรูด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะกรูด
ต้นมะกรูด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:พืช (Plantae)
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
ชั้นย่อย:Rosidae
อันดับ:Sapindales
วงศ์:Rutaceae
สกุล:Citrus
ชนิด:C. x
ชื่อทวินาม
Citrus x hystrix
L.
ผลมะกรูดวางบนแผงขาย
มะกรูด (อังกฤษKaffir lime) เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาวอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)

เนื้อหา

  [แสดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซ๋นติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมากๆ

การใช้ประโยชน์[แก้]

ใบมะกรูดที่ใช้ปรุงอาหารในอินโดนีเซีย ลาว กัมพูชาและไทย
การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเอง และก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน
น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเช่นกัน ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ ไม่บอกหยบ

มะกรูดหวาน[แก้]

มะกรูดหวาน (อังกฤษSweet kaffir lime) เป็นมะกรูดสายพันธุ์หนึ่ง ใบนิ่ม ผิวใบเรียบ ผลใหญ่กว่ามะกรูดเปรี้ยว ผลมีรสหวาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ไม่นิยมใช้ปรุงอาหาร เป็นผลไม้ท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงคราม[1] ขี้หกเพ น๊ะจ๋า

ในวรรณคดี[แก้]

สำหรับผลมะกรูดนั้นชาวไทยนิยมใช้ สระผมมาช้านาน และมีกล่าวไว้ในวรรณคดีของไทยหลายเรื่อง เช่น โคลงกำสรวล และกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาทในสมัยอยุธยา ดังนี้

เยียมาสํดอกแห้งหฤทัย ชื่นแฮ
ค่ำเช้า
เยียมาเยียไกลคลายบางกรุจ
ถนัดกรูดแก้วสระเกล้ากลิ่นขจร
(โคลงกำสรวล บทที่ 54)

อัญชัน

อัญชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัญชัน
อัญชัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:พืช (Plantae)
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Fabales
วงศ์:Fabaceae
วงศ์ย่อย:Faboideae
เผ่า:Cicereae
สกุล:Clitoria
ชนิด:Clitoria ternatea
ชื่อทวินาม
Clitoria ternatea
L.
อัญชัน (อังกฤษAsian pigeonwingsชื่อวิทยาศาสตร์Clitoria ternatea L.) เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน,เองชัญ (เหนือ)[1] เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า

เนื้อหา

  [แสดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

การกระจายพันธุ์[แก้]

อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา ในลาว ไทย เวียดนาม

สรรพคุณ[แก้]

  • ดอก ใช้สกัดสีทำเป็นสีผสมอาหาร ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ งามงามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น [3]
  • เมล็ด เป็นยาระบาย[4]
  • ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา[5]

อัญชันในวรรณคดี[แก้]

ในสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ ซึ่ง นิราศธารโศก และ มหาชาติคำหลวง ได้เปรียบเทียบคิ้วหญิงนั้นงามราวดอกอัญชัน

อ้างอิง

เตยหอม


 
กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ
เตยหอม
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Pandanus amaryllifolius  Roxb.
ชื่อสามัญ :   Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์ :    Pandanaceae
ชื่ออื่น   ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ :  ต้นและราก, ใบสด
สรรพคุณ :
  • ต้นและราก  
    -  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • บสด
    -  ตำพอกโรคผิวหนัง
    -  รักษาโรคหืด
    -  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 
    -  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  1. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
    ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
  2. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
  3. ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
  4. ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น
สารเคมี สารกลุ่ม anthocyanin

ภูเขาไฟฟูจิ

ภูเขาฟุจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูเขาฟุจิ
富士山
ภูเขาฟุจิจากมุมทะเลสาบคะวะงุชิ
ภูเขาฟุจิจากมุมทะเลสาบคะวะงุชิ
ความสูง3,776 เมตร (12,388 ฟุต)
สถานที่ตั้งภูมิภาคจูบุ,ฮนชู,ประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์35°21′28.8″N 138°43′51.6″Eพิกัดภูมิศาสตร์35°21′28.8″N 138°43′51.6″E
ประเภทกรวยภูเขาไฟสลับชั้น
ระเบิดครั้งล่าสุดพ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707)
ผู้ไต่ถึงยอดเป็นคนแรกในปี พ.ศ. 1206 โดยพระองค์หนึ่ง
วิธีไต่เขาที่ง่ายที่สุดเดิน
ฟุจิซัง - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งบันดาลใจทางศิลปะ *
ประเทศจังหวัดชิซึโอะกะ และจังหวัดยะมะนะชิ
ธงชาติของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii) (iv)
ประวัติการจดทะเบียน
จดทะเบียน2556 (คณะกรรมการสมัยที่ 37)

ภูเขาฟุจิ (ญี่ปุ่น富士山 Fuji-san ฟุจิซัง ?) เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่นราว 3,776 เมตร (12,388 ฟุต) ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดชิซึโอะกะ และจังหวัดยะมะนะชิ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัดโตเกียว(東京都) โดยในวันที่อากาศแจ่มใสสามารถมองเห็นจากโตเกียวได้ ในปัจจุบันภูเขาได้ถูกจัดโดยนักวิทยาศาสตร์อยู่ในลักษณะของภูเขาไฟที่มีโอกาสปะทุต่ำ ระเบิดครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) ยุคเอะโดะ
ภูเขาฟุจิ มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า "ฟุจิซัง" ซึ่งในหนังสือในสมัยก่อนเรียกว่า "ฟุจิยะมะ" เนื่องจากตัวอักษรคันจิตัวที่ 3 (山) สามารถอ่านได้สองแบบทั้ง "ยะมะ" และ "ซัง"

เนื้อหา

  [แสดง

ประวัติ[แก้]

เชื่อว่ามีผู้ปีนเขาฟุจิ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1206 โดยนักบวชท่านหนึ่ง และในช่วงระหว่างนั้นจนถึงยุคเมจิ ภูเขาฟุจิได้ชื่อว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งห้ามผู้หญิงขึ้นเขา โดยในปัจจุบันภูเขาฟุจิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ภูเขาฟุจิได้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากในงานเขียนหรือภาพวาดต่าง ๆ โดยเฉพาะภาพวาดของ โฮะกุไซ ที่มีให้เห็นในวรรณกรรมญี่ปุ่นและกาพย์กลอนที่สำคัญมากมาย
ภูเขาฟุจิยังเป็นฐานทัพของซามูไรต่างๆมากมายจากยุคอดีต เป็นที่ฝึกฝน ซึ่งในปัจจุบัน ฐานทัพหนึ่งของกองทหารญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง]ตั้งอยู่บริเวณตีนเขาฟุจิ
ในปี พ.ศ. 2556 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้ภูขาไฟฟูจิเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในวันที 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา ทำให้ภูเขาไฟฟูจิเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 13 และเป็นมรดกโลกแห่งที่ 17 ของประเทศญี่ปุ่น

มรดกโลก[แก้]

ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 37 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 17-27 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา มีมติให้ภูเขาไฟฟูจิขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อ "ฟุจิซัง - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งบันดาลใจทางศิลปะ" โดยผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
สำหรับภูเขาไฟฟูจิ เป็นภูเขาสูงสุดในญี่ปุ่นที่ระดับความสูง 3,776 เมตรกินอาณาบริเวณ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัดของญี่ปุ่น ได้แก่ ยามานาชิ และ ชิสุโอกะ พื้นที่โดยรอบ ประกอบด้วยทะเลสาบฟูจิทั้งห้า อุทยานแห่งชาติฟุจิ-ฮะโกะเนะ-อิซุและน้ำตกชิระอิโตะ

สาเหตุที่ทำให้ภูเขาไฟฟูจิ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม[แก้]

รูปแบบภูเขาไฟฟูจิ และกิจกรรมต่อเนื่องเป็นแรงบันดาลใจจนกลายเป็นวิถีปฏิบัติทางศาสนาที่เชื่อมโยงผู้คนที่นับถือศาสนาชินโต พุทธศาสนา และธรรมชาติเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ภูเขาไฟฟูจิยังเป็นแรงบันดาลใจต่อศิลปินในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในการผลิตภาพเขียนที่มีลักษณะทางวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ภูเขาไฟลูกนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการพัฒนาของศิลปะตะวันตก ทั้งนี้ ภูเขาไฟฟูจิซึ่งมีความสูง 3,776 เมตร ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดยามานาชิและชิซูโอกะ เป็นหนึ่งในทัศนียภาพที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น จากการที่มีหิมะปกคลุมบริเวณยอดเขา ทำให้กลายเป็นจุดดึงดูดผู้คนมานานหลายร้อยปีแล้ว ภูเขาฟุจิได้ชื่อว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งห้ามผู้หญิงขึ้นเขา โดยในปัจจุบันภูเขาฟุจิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ภูเขาฟุจิได้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากในงานเขียนหรือภาพวาดต่าง ๆ โดยเฉพาะภาพวาดของ โฮะกุไซ ที่มีให้เห็นในวรรณกรรมญี่ปุ่นและกาพย์กลอนที่สำคัญมากมาย ภูเขาฟุจิยังเป็นฐานทัพของซามูไรต่างๆมากมายจากยุคอดีต เป็นที่ฝึกฝน ซึ่งในปัจจุบัน ฐานทัพหนึ่งของกองทหารญี่ปุ่นตั้งอยู่บริเวณตีนเขาฟุจิ

ดูเพิ่ม